ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร กับ นายแพทย์ปุณวัฒน์ จันทรจํานง ด้วยบริการจาก HDcare


HDcare สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ระบบทางเดินอาหารส่วนต้น คือ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย คือ ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
  • การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร ตรวจหาความผิดปกติได้หลายโรค เช่น โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน มะเร็งกระเพาะ มะเร็งหลอดอาหาร หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • อาการผิดปกติระบบทางเดินอาหารส่วนต้นที่ควรพบแพทย์ คือ แสบท้อง ปวดท้อง ตำแหน่งใต้ลิ้นปี่กรดไหลย้อน แสบหน้าอก เรอเหม็นเปรี้ยว
  • อาการผิดปกติระบบทางเดินอาหารส่วนปลายที่ควรพบแพทย์ คือ ท้องผูกเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย อาการท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีขนาดเล็กลง หรือถ่ายเป็นเลือด
  • ผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารแม้ไม่มีอาการเพื่อตรวจคัดกรองโรค
  • ก่อนตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบน งดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย ต้องจำกัดเรื่องอาหารก่อนตรวจ 1-2 วัน และกินยาระบายเพื่อขับอุจจาระคงค้างในลำไส้
  • หลังการส่องกล้อง ถ้าไม่พบปัญหาสามารถแจ้งผลตรวจภายในวันเดียวกัน กรณีพบชิ้นเนื้อ จะมีการนัดคนไข้เข้ามาติดตามผลภายหลัง
  • การตรวจระบบทางเดินอาหารปกติจะไม่มีการพักฟื้นที่ รพ.ยกเว้น คนไข้อายุมากหรือมีโรคประจำตัว แพทย์จะแนะนำให้พัก รพ.พยาบาลก่อนการตรวจเพื่อเตรียมลำไส้
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก HDcare ศูนย์รวมการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ จาก HDmall.co.th แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณา

ถ้าสุขภาพร่างกายปกติดี คนส่วนใหญ่มักมองข้ามการตรวจสุขภาพระบบทางเดินอาหาร ทั้งที่จริงๆ แล้วการตรวจระบบทางเดินอาหาร มีส่วนในการป้องกันหรือลดความเสี่ยงเป็นโรคหลายชนิด รวมทั้งโรคร้ายแรงอย่างโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ผศ. นพ. ปุณวัฒน์ จันทรจํานง หรือหมอด้วง ศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หนึ่งในทีมแพทย์จากบริการของ HDcare จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจระบบทางเดินอาหารอย่างละเอียด

อ่านประวัติของหมอด้วงได้ที่นี่ [รู้จัก “หมอด้วง” ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก]

ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:

ขยาย

ปิด

  • เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
  • เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
  • เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
  • ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่

เลือกหัวข้อที่สนใจที่นี่

ทำไมต้องตรวจระบบทางเดินอาหารหรือลำไส้?

ปัจจุบันคนรักสุขภาพมากขึ้น ทำให้มีการเจาะเลือด หรือเอกซเรย์ปอดเพื่อตรวจสุขภาพทุกปี สิ่งที่หลายคนยังไม่รู้คือการส่องกล้องกระเพาะ ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะอาหารหรือลำไส้ใหญ่ก็มีความสำคัญกับหลายโรคที่การเจาะเลือดหรือการเอกซเรย์ไม่สามารถตรวจหาได้

ระบบทางเดินอาหารคืออะไร?

ระบบทางเดินอาหารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบทางเดินอาหารส่วนต้น และระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย

  • ระบบทางเดินอาหารส่วนต้น คือ อวัยวะตั้งแต่ปาก ต่อมาคือหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารซึ่งมีความเป็นกรดสูงเพราะใช้ย่อยโปรตีน ส่วนต่อมาคือลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่มีความยาวมากที่สุดของร่างกาย ยาวประมาณ 7 เมตร ใช้ในการย่อยไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีน หรือไขมัน
  • ระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย คือ อวัยวะตั้งแต่ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก หน้าที่ช่วยในการดูดน้ำและเกลือแร่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้อุจจาระจับตัวเป็นก้อนมากขึ้น

ระบบทางเดินอาหารมีโอกาสเกิดโรคอะไรได้บ้าง?

โรคที่อาจเกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน และโรคที่น่ากลัวคือ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร สำหรับทางเดินอาหารส่วนปลายโรคที่น่ากลัวคือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่ควรพบแพทย์?

อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนต้น คือ แสบท้องหรือปวดท้อง บริเวณตำแหน่งใต้ลิ้นปี่ หรือบางคนที่มีอาการกรดไหลย้อน จะมีอาการแสบหน้าอกหรือเรอเหม็นเปรี้ยว

อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย คือ อาการผิดปกติทางด้านการขับถ่าย ไม่ว่าจะเป็นท้องผูกเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย อาการท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีขนาดเล็กลง หรือถ่ายเป็นเลือด

ใครบ้างที่ควรตรวจระบบทางเดินอาหาร?

คนไข้ที่มีอาการผิดปกติตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ควรรีบมาพบแพทย์ เพื่อเช็กว่าเป็นโรคอะไรหรือไม่ และหาแนวทางการรักษาซึ่งแพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการตรวจส่องกล้อง

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่เคยมีอาการ และมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป สามารถรับการตรวจระบบทางเดินอาหารด้วยการส่องกล้องเพื่อเป็นการตรวจคัดกรองโรคได้

การเตรียมตัวสำหรับตรวจระบบทางเดินอาหาร

การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น: งดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สามารถเข้ามารับการตรวจได้

การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย: ก่อนเข้ารับการตรวจ 1-2 วัน ต้องจำกัดอาหาร โดยพยาบาลจะแนะนำวิธีการกินอาหารให้ และก่อนวันตรวจต้องกินยาระบายเพื่อขับอุจจาระที่คงค้างในลำไส้ออกให้หมด เพื่อให้เวลาส่องกล้องจะช่วยให้เห็นลำไส้ทั้งหมดได้อย่างชัดเจน และต้องงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนส่องกล้องเช่นกัน

ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

ก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร วิสัญญีแพทย์จะคอยดูแลการให้ยาสลบ เพื่อช่วยให้คนไข้ไม่รู้สึกตัวขณะทำการส่องกล้อง โดยการตรวจระบบทางเดินอาหารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้นและการตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย

การตรวจระบบทางเดินอาหารทั้ง 2 ส่วน กล้องตรวจมีลักษณะหน้าตาคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน 100%โดยกล้องความละเอียดสูงมีความยาวประมาณ 1 เมตร ปกติแล้วจะแยกใช้เฉพาะส่วนนั้นๆ โดยกล้องที่ใช้ส่องกระเพาะอาหารจะสั้นกว่าเล็กน้อย

การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้น จะใช้กล้องส่องเข้าไปทางปาก ดูตั้งแต่ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กบางส่วน

ส่วนการส่องกล้องของระบบทางเดินอาหารส่วนปลาย จะตรวจลำไส้ใหญ่ใช้กล้องส่องเข้าทางทวารหนัก เพื่อดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด หากพบติ่งเนื้อ แพทย์จะทำการตัดออกเพื่อป้องกันการพัฒนาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

ตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้นและส่วนปลายพร้อมกันได้ไหม?

การตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนต้นและส่วนปลาย สามารถตรวจพร้อมกันได้ ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ของคนไข้แต่ละราย

แพทย์จะส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนบนก่อนโดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นจะส่องกล้องลำไส้ใหญ่หรือส่วนปลายใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที

หากส่องกล้องเจอความผิดปกติจะมีการตัดชิ้นส่วนออกเลยไหม?

กรณีที่ส่องกล้องตรวจลำไส้พบความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อขนาดเล็ก แพทย์จะตัดออก ถือว่าเป็นการรักษาไปในตัว

กรณีที่เป็นติ่งเนื้อขนาดใหญ่ หรือมีลักษณะเป็นก้อนสันนิษฐานว่าอาจเป็นมะเร็ง จะมีการตัดชิ้นเนื้อนั้นไปตรวจอย่างละเอียด อาจมีการตรวจด้วย CT Scan ร่วมด้วย

ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร ต้องนอน รพ. หรือไม่?

ปกติแล้วการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร คนไข้ไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่ รพ. ทั้งก่อนและหลังการตรวจ

หลังจากการตรวจเมื่อฟื้นตัวจากยาสลบ คนไข้ตื่นดี ไม่มีปัญหาอะไรสามารถกลับบ้านได้เลย ยกเว้นกรณีที่คนไข้มีโรคประจำตัวค่อนข้างเยอะหรือมีอายุมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาลก่อนการตรวจ เพื่อเตรียมพร้อมให้กับลำไส้

การติดตามผลหลังจากตรวจระบบทางเดินอาหาร

ภายหลังการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร หากไม่มีสิ่งผิดปกติ สามารถแจ้งผลตรวจให้คนไข้ทราบได้ภายในวันเดียวกัน แต่กรณีที่พบติ่งเนื้อและมีการส่งตรวจจะนัดคนไข้เข้ามาติดตามผลภายหลัง

ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร กับ ผศ. นพ. ปุณวัฒน์ ด้วยบริการจาก HDcare

สำหรับการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร เป็นการตรวจเช็กเพื่อคัดกรองโรคที่เสี่ยงต่อการเกิด เช่น กรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่

ใครที่มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง กรดไหลย้อน แสบหน้าอก เรอเหม็นเปรี้ยว ท้องผูกเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย อาการท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระมีขนาดเล็กลง หรือถ่ายเป็นเลือด แนะนำให้เข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการตรวจวินิจฉัยโรค สามารถสอบถามข้อมูลหรือนัดหมาย ปรึกษาได้ทาง HDcare

ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:

ขยาย

ปิด

  • เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
  • เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
  • เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
  • ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่

สอบถามทุกประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สงสัย กับทางทีมของHDcare จนกว่าจะมั่นใจ และหากต้องการผู้ช่วยประสานงานด้านใดในโรงพยาบาล หรืออยากสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการ HDcare สามารถพูดคุยผ่านทางไลน์ @HDcare ได้เลย

บทความที่แนะนำ

@‌hdcoth line chat