ผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารชั้นใน กับ นายแพทย์ปุณวัฒน์ จันทรจํานง ด้วยบริการจาก HDcare


HDcare สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • แผลขอบรูทวาร เกิดจากการที่ขอบรูทวารถูกครูดจนทำให้เกิดบาดแผล ไม่ว่าจะเพราะถ่ายอุจจาระแข็ง ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง คลอดบุตร หรือร่วมเพศทางทวารหนัก
  • แผลขอบรูทวารแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง
  • การผ่าตัดแผลขอบรูทวารคนไข้จะได้รับยานอนหลับและฉีดยาชาเพื่อทำให้ไม่รู้สึกเจ็บขณะผ่าตัด
  • ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 15 - 30 นาที หลังผ่าตัดพักฟื้นเพียง 1 วันสามารถกลับบ้านได้
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก HDcare ศูนย์รวมการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ จาก HDmall.co.th แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณา

อวัยวะบริเวณหูรูดทวารสามารถเกิดโรคได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นริดสีดวงทวาร ฝีคัณฑสูตร หรือฝีขอบรูทวาร

การขับถ่ายอุจจาระแข็ง ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง คลอดบุตร หรือร่วมเพศทางทวารหนัก เหล่านี้ล้วนแต่ทำให้เกิดแผลที่ขอบรูทวารได้ อาการของโรคนี้ มีอาการเจ็บก้น ใกล้เคียงกับโรคริดสีดวงทวาร ทำให้ผู้ป่วยอาจสับสน

ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:

ขยาย

ปิด

  • เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
  • เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
  • เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
  • ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่


ผศ. นพ. ปุณวัฒน์ จันทรจํานง หรือหมอด้วง หนึ่งในทีมแพทย์จากบริการของ HDcare จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักชั้นในอย่างละเอียด อ่านประวัติของหมอด้วงได้ที่นี่ [รู้จัก “หมอด้วง” ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก]

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

อะไรทำให้เกิดแผลที่ขอบรูทวาร?

สาเหตุการเกิดแผลขอบรูทวาร (Anal Fissure) คือ การที่มีอะไรไปครูดที่ขอบรูทวารจนทำให้เกิดบาดแผล

ไม่ว่าจะเป็นการขับถ่ายอุจจาระแข็ง อาการท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง ผู้ที่คลอดบุตรทางช่องคลอด หรือกลุ่มชายรักชายหรือผู้ที่ร่วมเพศทางทวารหนักก็มีโอกาสเกิดแผลที่ขอบรูทวารได้

ลักษณะอาการของแผลขอบรูทวาร

สำหรับอาการของแผลขอบรูทวาร หลายคนมักอาจสับสนกับอาการของโรคริดสีดวงทวาร เพราะมีอาการขับถ่ายปนเลือดเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือ แผลขอบรูทวารจะมีอาการเจ็บแสบเวลาอุจจาระผ่านลงมา

แผลขอบรูทวาร แบ่งออกเป็นกี่ระยะ?

แผลขอบรูทวาร แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 คือ ระยะเฉียบพลัน เมื่ออุจจาระแข็งจนเกิดการครูดบาด จะมีแผลฉีกขาดหรือแผลเปิด เรียกว่าระยะเฉียบพลัน ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่ใช่ระยะอันตราย สามารถปรับพฤติกรรม และกินยาเพื่อรักษาได้
  • ระยะที่ 2 คือ ระยะเรื้อรัง เกิดจากการที่เป็นระยะเฉียบพลันมาเป็นเวลานาน ไม่ได้รับการรักษา จนสุดท้ายกล้ามเนื้อหูรูดของเรามีการกดจนทำให้แผลไม่สมาน หูรูดจะหดเกร็ง หากเป็นเวลานานไม่ได้รักษา มันจะทำให้หูรูดของเราหดเกร็งค้าง

แผลขอบรูทวารรักษาได้กี่วิธี?

การรักษาแผลขอบรูทวารระยะเฉียบพลัน แพทย์จะแนะนำให้ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายเพื่อไม่ให้อุจจาระแข็ง ไม่ควรนั่งห้องน้ำนาน ร่วมกับการกินยาที่แพทย์แนะนำ เช่น ยาแก้ปวดหรือยาระบาย เพื่อทำให้แผลสมานได้เอง

ส่วนการรักษาแผลของรูทวารระยะเรื้อรัง เป็นการรักษาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหูรูดชั้นใน มี 3 วิธีคือ การใช้ยาชา การฉีดโบท็อกซ์ ซึ่ง 2 วิธีนี้ เป็นการรักษาที่ได้ผลในระยะสั้น ส่วนการรักษาที่ดีที่สุด คือการผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

การผ่าตัดแผลขอบรูทวารมีขั้นตอนยังไง?

การผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารชั้นใน แพทย์จะเริ่มจากการให้ยานอนหลับและฉีดยาชารอบรูทวารเพื่อระงับความรู้สึกของคนไข้

จากนั้นแพทย์จะเปิดแผลขนาดเล็กประมาณ 2-3 มิลลิเมตรโดยใช้เครื่องมือขนาดเล็ก จากนั้นจะผ่าตัดแต่งกล้ามเนื้อหูรูดภายในส่วนที่หดเกร็งให้คลายความดันในการบีบตัวลง โดยการผ่าตัดจะใช้ระยะเวลาประมาณ 15-30 นาที

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดแผลขอบรูทวาร

สำหรับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดแผลขอบรูทวาร คนไข้ต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย เช่น เจาะเลือด เอกซเรย์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อความปลอดภัยในการผ่าตัด

การดูแลหลังผ่าตัดแผลขอบรูทวาร

หลังการผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาระบายเพื่อทำให้อุจจาระนิ่ม ไม่ให้ไปครูดบริเวณแผลที่ผ่าตัด ร่วมกับการให้ยาแก้ปวด

  • งดขับรถกลับบ้านเองในวันผ่าตัดและตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ
  • งดทำกิจกรรมที่ทำให้แผลกระทบกระเทือน เช่น ออกกำลังกายหนักๆ ยกของหนัก ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ในคนไข้บางราย แพทย์อาจแนะนำให้ทำงานอยู่กับบ้านในช่วงเวลานี้
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ หลังจากแพทย์อนุญาตให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  • ดื่มน้ำให้มากๆ และกินอาหารที่มีกากใยและมีไฟเบอร์สูง เพื่อลดโอกาสท้องผูกและอุจจาระแข็ง
  • กินยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ และยาอื่นๆ ตามที่แพทย์สั่งจ่ายให้อย่างเคร่งครัด
  • งดเบ่งอุจจาระแรงๆ ในระหว่างที่ถ่ายหนักให้ปล่อยตัวตามสบาย อย่าเบ่งหรือออกแรงดันมาก
  • แช่ก้นในน้ำอุ่นหลังเบ่งอุจจาระ เพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อหูรูดหลังถ่ายหนัก
  • ดูแลสุขอนามัยร่างกายให้สะอาดเสมอ และงดการใช้กระดาษชำระเปียกที่มีส่วนประกอบของน้ำหอมเช็ดในตำแหน่งทวารหนัก เนื่องจากอาจทำให้ระคายเคืองผิวใกล้แผลผ่าตัดได้

อย่างไรก็ตาม อาการข้างเคียงหลังการผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารชั้นในพบได้น้อยมาก แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้บ้าง เช่น อาจกลั้นอุจจาระไม่ค่อยได้

หลังผ่าตัดแผลขอบรูทวารมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่?

คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารชั้นในไปแล้ว มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ แต่ค่อนข้างน้อย

ซึ่งคนไข้ที่เป็นซ้ำส่วนใหญ่ คือคนไข้ที่ยังคงมีพฤติกรรมการขับถ่ายลักษณะเดิม เช่น นั่งห้องน้ำนาน มีอาการท้องผูกบ่อยๆ ขับถ่ายอุจจาระแข็ง

ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:

ขยาย

ปิด

  • เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
  • เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
  • เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
  • ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่

รักษาแผลขอบรูทวารด้วยการ “ผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูดทวารชั้นใน” กับ ผศ. นพ. ปุณวัฒน์ ด้วยบริการจาก HDcare

หลายคนเกิดความสับสนระหว่างอาการของริดสีดวงทวารและแผลขอบรูทวาร เนื่องจากทั้ง 2 โรคนี้ มีอาการเลือดออกเหมือนกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความแตกต่างกัน

สำหรับใครที่มีอาการเจ็บบริเวณขอบรูทวาร หรือถ่ายเป็นเลือดอย่านิ่งนอนใจ ถ้าแยกไม่ออกว่าเป็น ริดสีดวงทวารหรือแผลขอบรูทวาร สามารถทักเข้ามาสอบถามทาง HDcare ได้ เพื่อปรึกษkและนัดเข้าพบแพทย์

สอบถามทุกประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สงสัย กับทางทีมของ HDcare จนกว่าจะมั่นใจ และหากต้องการผู้ช่วยประสานงานด้านใดในโรงพยาบาล หรืออยากสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการ HDcare สามารถพูดคุยผ่านทางไลน์ @HDcare ได้เลย

บทความที่แนะนำ

@‌hdcoth line chat